Organic Seal : จะรู้ได้อย่างไรว่า Organic ?


จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นกาแฟ Organic ?

กระแสรักษาสุขภาพมาแรงไม่แพ้กระแสการดื่มกาแฟคุณภาพ ผู้จำหน่ายกาแฟหลายแห่งชูจุดขายเรื่อง  ‘กาแฟ organic’ ที่ปราศจากการการตัดแต่งพันธุกรรม การใช้สารเร่งฮอร์โมน ใช้สารเคมี ตั้งแต่กระบวนการเพาะปลูกไปจนถึงแปรรูป เพื่อจูงใจคนรักษาสุขภาพโดยเฉพาะ ซึ่งตราบใดที่เราไม่ได้เป็นเจ้าของไร่กาแฟ ไม่รู้กระบวนการผลิตตั้งแต่ต้น ‘ตรารับรอง organic’ ที่อยู่บนฉลากกาแฟ ก็เป็นสิ่งเดียวที่จะให้ข้อมูลกับผู้ซื้ออย่างเรา


วันหยุดที่ผ่านมา Coffee Education ลองแวะไปที่ชั้นวางกาแฟของซูเปอร์มาร์เก็ต ก็เริ่มเห็นเมล็ดกาแฟ organic วางจำหน่ายกันบ้างแล้ว ทีนี้เรามาดูกันว่า ‘ตรา’  อะไรบ้างที่เจอกันบ่อยบนฉลากกาแฟ organic และตราเหล่านั้นบอกอะไรกับคนดื่มกาแฟ

 –

เริ่มจากทางขวามาซ้าย «

◊  The Global Organic Mark : เป็นตรารับรองผลิตภัณฑ์ organic ที่อนุมัติโดยตรงจาก ‘สมาพันธ์เกษตรอินทรีย์ นานาชาติ’ (IFOAM) เป็นตราสัญลักษณ์ที่ยอมรับกันในระดับสากล 

ดูเพิ่มเติม :  The Global Orgapnic Mark
เกี่ยวกับ IFOAM โดยสำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (มกท.) : Click

◊  Bioagricert  ตราที่รับรองการผลิตสินค้าอินทรีย์ ซึ่งผ่านการรับรองจากกระทรวงเกษตรของประเทศอิตาลี  และนอกจากนี้ Bioagricert ยังได้รับการรับรองจากหน่วยงานในยุโรป ซึ่งรับรองโดย IFOAM ด้วยเช่นเดียวกัน

ดูเพิ่มเติม : Bioagricert Thailand

USDA : ตราเกษตรอินทรีย์ ตามมาตรฐานของสหรัฐอเมริกา รับรองโดย U.S. Department of Agriculture หากผลิตภัณฑ์ใดต้องการวางจำหน่ายและโฆษณาว่าเป็นสินค้า organic ในสหรัฐอเมริกา จำเป็นต้องผ่านการรับรองนี้ ซึ่งขั้นตอนการตรวจเพื่อรับรอง ครอบคลุมทั้งขั้นตอนการเพาะปลูก การเก็บเกี่ยว และการแปรรูป

ดูเพิ่มเติม : Organic Standards (USDA)

 EU organic : (European Union Organic) : ตราเกษตรอินทรีย์สหภาพยุโรป หากผู้ผลิตไทยจะขอตรา EU organic สามารถยื่นขอกับ ‘สำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (มกท.)’ เพราะมาตรฐาน มทก. ผ่านการประเมินแล้วว่าเท่าเทียมกับมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของสหภาพยุโรป
ดังนั้น หากขอการรับรองของ EU organic โดยผ่าน มกท. จะมีรหัสแหล่งควบคุมที่ออกโดย มกท. กำกับอยู่ใต้โลโก้ เช่นในภาพตัวอย่างจะเห็นรหัส TH-BIO-132

ในตรา EU organic เรายังรู้ได้คร่าวๆอีกว่า ส่วนประกอบในสินค้านั้นมาจากไหน โดยถ้าเจอคำว่า “EU Agriculture” อยู่ใต้โลโก้ แปลว่าส่วนประกอบมาจากยุโรปทั้งหมด ถ้าเป็น

Non-EU Agriculture แปลว่าวัตถุดิบทั้งหมดปลูกนอกยุโรป   

– “EU/non-EU Agriculture แปลว่า บางส่วนปลูกในยุโรป บางส่วนปลูกนอกยุโรป

– แต่ถ้าส่วนประกอบทั้งหมดในสินค้าปลูกจากแหล่งประเทศเดียวกัน จะใช้ชื่อประเทศกำกับ เช่น เมล็ดกาแฟดอยช้างที่ปลูกในไทยทั้งหมด จะกำกับไว้ว่า Thailand-Agriculture

ดูเพิ่มเติม : Organic Agriculture Certification Thailand (ACT.)


organic-02

แต่บางครั้ง เราอาจเจอตรา organic อื่นๆได้อีก เช่น OneCert ที่ผ่านมาตรฐาน USDA / USCOEA / JAS และอื่นๆ (ดูเพิ่มเติม)  หรือหากเป็นของไทยเราเองก็มีตรา Organic Thailand ออกโดย กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรเเละสหกรณ์ ซึ่งแต่ละมาตรฐานการรับรอง ก็มีเงื่อนไข มีรายละเอียดการรับรองที่ต่างกัน เช่น ‘น้ำส้มควันไม้’ ภูมิปัญญาของไทยเราผ่านการรับรอง Organic Thailand แต่ไม่ผ่านการรับรองของ USDA ซึ่งในส่วนของ USDA เอง ก็มีรูปแบบการรับรองประเภท ‘ส่วนประกอบ organic 100%’ และ ‘ส่วนประกอบ organic ไม่น้อยกว่า 95%’


cer_5 copy

แถมท้ายกันหน่อย… หากเจอโลโก้  FAIRTRADE อยู่บนฉลาก (อย่างในภาพตัวอย่าง) ให้รู้ว่าผลิตภัณฑ์นั้นเป็นผลจากระบบการค้าที่ “เป็นธรรมต่อผู้ผลิต” มีการตรวจสอบรับรองกระกวบการโดย FAIRTRADE  ที่เป็นสากล ถือว่าเป็นการสนับสนุนชุมชน ส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ผลิต ตอบโจทย์สังคมและสิ่งแวดล้อมด้วยนะจ๊ะ 

organic-03

เรื่องการดื่มกาแฟ organic ไม่ว่าจะเลือกเมล็ดที่ผ่านการรับรองมาตรฐานอะไรมาก็ดี แต่ถ้าอยากดื่มกาแฟแบบ organic เพียวๆทั้งแก้ว ก็ต้องใส่ใจเรื่องส่วนผสมอื่นในแก้วกาแฟอย่าง นำ้ นม หรือน้ำตาล กันด้วยน้า



ติดตามเรื่องราวของกาแฟได้ที่

Coffee Education Fanpage

web1