,

ชิมกาแฟสายชิล ดื่มสนุก นึกให้เป็นเฉดสี – coffee flavour wheel

สำหรับคนที่เข้าออกร้านกาแฟหลายๆ ร้าน คงมีบ้างที่เห็นภาพวงล้อสีสวยๆ โชว์อยู่ในร้านกาแฟ ถ้าจะบอกว่าเอาไว้ใช้ตกแต่งร้านสวยๆ นั่นก็ส่วนหนึ่ง แต่ประโยชน์ที่แท้จริงของวงล้อสีนี้ คือเป็น Guideline สำคัญ ให้กับทั้งผู้ดื่ม และผู้เสิร์ฟ ทำความรู้จักกับกาแฟไปในทิศทางเดียวกัน
FlavorWheel-_SCAA5Image : sprudge

ผู้ดื่มที่เริ่มสนใจเรื่องกาแฟ จะสนุกไปกับเฉดสีและรสชาติใน Flavour Wheel ได้ยังไง?

ถึงแม้จะดูมีสีสันหลากหลายตระการตา แต่ถ้าจับทริคง่ายๆ สำหรับมือใหม่ได้ วงล้อสีนี้ไม่ได้เข้าใจยากอย่างที่คิด

SCAA-FlavorWheel-trans

Flavour Wheel หรือ วงล้อสี เป็นตัวช่วยบอกรสชาติต่างๆ ที่เรา ‘อาจเจอได้’ ในกาแฟ โดยเเทนค่ารสชาติออกมาเป็นเฉดสี และระบุชื่อของ ‘ต้นฉบับ’ รสชาตินั้นๆ กำกับเอาไว้ด้วย … ที่เห็นว่าสีเยอะๆ ขนาดนี้ ก็หมายถึงว่า ความเป็นไปได้ของรสชาติในกาแฟมีมากมายจริงๆ

อย่างในตัวอย่างด้านล่าง จะเห็นว่ามีแยกเป็นกลุ่มดอกไม้, ผลไม้, เปรี้ยวหรือหมัก, เขียวหรือพืชผัก, ถั่วหรือโกโก้ เป็นต้น … อ้อ! อย่าคิดไปก่อนว่าในกาแฟจะไม่มีทางมีรสชาติแปลกๆ อย่างสารเคมีได้นะ เพราะขนาดในขนมหวานสวยๆ เรายังเคยกินแล้วคิดว่ารสชาติ “เหมือนยาแก้ไอ” ได้เลย!


SCAA-FlavorWheel-cropcredit : แปลโดย TigerJin 

ถ้าเรานึกถึงคนตอนที่กินขนมหวาน แล้วบ่นว่าเหมือนยาแก้ไออย่างที่ยกตัวอย่างไปได้ล่ะก็ เราคงพอเข้าใจแล้วว่า ‘ประสบการณ์’ มีผลโดยตรงต่อการจำแนกและระบุรสชาติ ( เพราะเราเคยกินยาแก้ไอมาก่อน เราถึงจับคู่รสชาติเข้ากับยาแก้ไอได้ ) …  งั้นคุยต่อไปอีกว่า ยาแก้ไอในจินตนาการนั้น ‘สี’ อะไร? ถ้าเป็นคนไทยด้วยกันส่วนใหญ่จะตอบว่าสีแดง เพราะเราเคยชินกับยาน้ำแก้ไอสีเเดงมาตั้งแต่เด็ก… แต่ถ้าเป็นคนที่ไม่เคยกินยาน้ำแก้ไอน้ำสีแดงล่ะก็ ก็คงจินตนาการไม่เหมือนกับเรา

เอาประสบการณ์ และจินตนาการมาใช้กับ  Flavour Wheel


สำหรับผู้ที่ต้องการเป็นมืออาชีพ ก็ต้องฝึกฝนด้านรสชาติให้มาก  ไล่ชิมผลไม้  ชิมอาหาร เครื่องปรุง วัตถุดิบต่างๆ แม้แต่ของประหลาดๆ บางอย่างก็ต้องชิม เพื่อสะสมประสบการณ์เตรียมไว้จับคู่กับรสชาติที่พบในกาแฟให้แม่นยำได้มากขึ้น


สำหรับสายชิลที่ต้องการความเพลิดเพลิน >> เรามีทริคที่ได้รับคำแนะนำจาก คุณหมู Bottomless  Coffee Roaster มาบอก

ถ้าเริ่มที่รสชาติในกลุ่มผัก-ผลไม้ซึ่งเราเคยชินมาก่อน ก็จะทำให้เห็นภาพง่ายขึ้น โดยลองเทียบสีของผลไม้ เช่น

มะนาว เทียบเป็นสีเขียว เเน่นอนว่ารสเปรี้ยว และบางครั้งก็เข็ดฟัน

 สิ่งที่เปรี้ยวน้อยกว่ามะนาวคือ เลมอน ก็เป็นสีเหลือง มีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์

 ถัดมาเริ่มหวาน ส้ม ก็เทียบเป็นสีส้ม

 แอปเปิ้ลแดง ให้รสหวาน เทียบเป็นสีแดง (ถ้าเป็นแอปเปิ้ลเขียว จะอยู่โทนเขียว เพราะเปรี้ยวกว่าแอปเปิ้ลเเดง )

 องุ่นแดง จะฉ่ำ หวาน (ถ้าเป็นองุ่นเขียว ก็เปรี้ยวกว่าองุ่นแดง)

เราสามารถไล่โทนสีผลไม้ตั้งแต่เขียว-เหลือง-ไปจนแดง-แดงก่ำ-แดงเข้มแบบ แบล็คเคอร์แรนท์ ได้เลย ส่วนเรื่องรสชาติ ก็จินตนาการตามว่ารสชาติในผลไม้กลุ่มสีเขียว ยังไงก็เปรี้ยวกว่าสีแดง




จากนี้ เวลาดื่มกาแฟแล้วรู้สึกเปรี้ยว เราก็อย่าเพิ่งจบที่คำว่า ‘เปรี้ยว’ แต่ลองนึกดูว่าเปรี้ยวแบบไหน อาจเป็นเปรี้ยวมะนาว เปรี้ยวองุ่นเขียว หรือเปรี้ยวเจือหวานแบบเลมอนก็ได้ ส่วนใครดื่มแล้วได้กลิ่นเเน่นๆ หนักๆ เหมือนกลิ่นหมัก ก็ให้นึกถึงสีโทนสีเข้มๆ เอาไว้ ซึ่งแยกไปได้อีกว่าเหมือนกลิ่นหมักไวน์ หรือเป็นกลิ่นหมักชื้นๆ

แล้วทีนี้ พอเราเห็นฉลากเมล็ดกาแฟคั่วที่ระบุ  Flavour  หรือ Taste Note เอาไว้ เราก็พอจะเดาได้แล้วว่า รสชาติของเมล็ดนั้นๆ น่าจะเป็นอย่างไร และเรายังสามารถเลือกดื่มกาแฟที่ถูกใจเราได้อีกด้วย จากหลักการของ Flavour Wheel !

แต่ทั้งนี้ ทั้งนั้น หน้าฉลากเป็นเพียงคำแนะนำ เมื่อถึงเวลาดื่มจริงๆ ก็มีปัจจัยมากมายที่มีผลต่อการสกัดเพื่อดึงรสชาติในกาแฟออกมา จะสกัดได้สมบูรณ์หรือไม่นั้นยกให้เป็นบทบาทของฝ่าย Process และคนชง ส่วนเราที่เป็นผู้ดื่ม ก็เตรียมตัว เตรียมประสบการณ์ เตรียมจินตนาการกันไว้ดีๆ แล้วกันเนอะ ; )

Enjoy your sip !!  ♥

ขอขอบคุณ พี่หมู  ( Bottomless Coffee Roasters ) ที่แบ่งปันทริคสนุกๆ เข้าใจง่าย เพื่อคนดื่มกาแฟค่ะ (:


ติดตามเรื่องราวของกาแฟได้ที่

Coffee Education Fanpage

web1