จากความ ‘หวาน’ ของ ‘เชอร์รีกาแฟ’ สู่ชา Cascara
‘Brix’ อีกหนึ่งคำที่มีความหมายสำหรับกาแฟ และทำให้ชา ‘Cascara’ ชาที่ทำมาจากเปลือก ‘หวานๆ’ ของเชอร์รีกาแฟเป็นที่ประทับใจในหมู่ผู้ดื่ม
–
–
Brix (บริกซ์)
คือ หน่วยวัดความหวานในน้ำหวานหรือผลไม้…ซึ่งผลไม้หวานๆ อย่างลำไยสุก มีค่า Brix (°Bx) เฉลี่ยประมาณ 10°Bx (หมายความว่ามีซูโครส 10 กรัม ต่อสารละลาย 100 กรัม) แค่นึกถึง ‘ลำไยสุก’ ก็ว่าหวานแล้วนะคะ แต่รู้ไหมว่า ‘ผลเชอร์รีกาแฟ’ ที่เราเคยเห็นข้อมูลกันมา สามารถวัดค่า Brix สูงสุดได้ถึง 22°Bx !! (ผลเชอร์รีกาแฟสุกที่เก็บเกี่ยวได้ จะมีค่า Brix ระหว่าง 12-25°Bx. ซึ่งค่า Brix นี้ สามารถเพิ่มได้หลังจากเก็บเกี่ยวเชอร์รีที่อาจยังไม่สุกจัดมาแล้วนำไปบ่ม คล้ายเวลาเราบ่มมะม่วงสุก)
–
–
ค่า Brix ยิ่งสูง แปลว่ายิ่งมีน้ำตาลอยู่มาก และเมื่อเชอร์รีกาแฟมีน้ำตาลอยู่มาก ก็ทำให้กาแฟนั้นมีโอกาสได้คะแนนสูงขึ้นในการ cupping ด้วย มาจากด้าน ‘sweetness’ นั่นเอง
.. .. .. .. ..
–
..
แล้ว ‘ชา’ กับ ‘กาแฟ’ ก็โคจรมาเจอกันเพราะ ‘ความหวาน’ เป็นตัวกลาง
–
ความหวานในผลเชอร์รีกาแฟเป็นอีกหนึ่งเหตุผล ที่ทำให้เปลือกของมันถูกนำไปทำเป็น ‘ชา’ ที่เรียกว่า Cascara หรือ Coffee Cherry Tea
–
–
Cascara ในภาษาสเปนหมายถึงเปลือกหรือผิวของผลไม้ และในที่นี้ ชา Cascara ก็คือ ชาที่ทำจากเปลือกของ ‘เชอร์รีกาแฟ’ ซึ่งเป็นผลไม้ชนิดหนึ่ง ! (โดยเรานำเมล็ดของเชอร์รีกาแฟมาผ่านกระบวนการต่างๆ จนกลายเป็นเมล็ด ‘กาแฟ’ ที่นิยมนำมาคั่วบดแล้วดื่มกัน ส่วนเปลือก ถ้าไม่ได้คุณภาพเพียงพอจะมาทำชา ก็จะนำไปทำปุ๋ยไบโอกลับมาใช้กับต้นกาแฟได้ดี)
–
–
ชา Cascara จากเปลือกเชอร์รีกาแฟจะมีรูปร่างคล้ายลูกเกดแห้ง เมื่อนำมาชงดื่มจะให้รสสัมผัสของชาที่อบอวลด้วยกลิ่นอายรสชาติแบบผลไม้จำพวกเบอร์รี เชอร์รี หรือกระทั่งยาสูบ โดยที่มีคาเฟอีนในปริมาณน้อยกว่ากาแฟ ถือเป็นเครื่องดื่มเกิดใหม่ในอเมริกาเมื่อช่วงปี 2014 แต่ในขณะเดียวกันก็มีข้อมูลว่าบ่งบอกว่า เกษตรกรชาวไร่กาแฟในเยเมนและเอธิโอเปีย ได้มีการนำเชอร์รีกาแฟไปตากแห้งและนำมาชงดื่มกันนานหลายศตรวรรษแล้ว อาจจะก่อนรู้จักนำเมล็ดมาทำเป็นกาเเฟด้วยซ้ำ โดยพวกเขามักนำไปแช่พร้อมเครื่องเทศ จำพวกขิง ลูกจันทน์เทศ หรืออบเชย เพื่อทำเป็นเครื่องดื่มกลิ่นหอมชนิดหนึ่งชื่อ Hashara ในเอธิโอเปีย หรือ Quisher ในเยเมน ซึ่ง Quisher ในเยเมนเป็นนิยมมากกว่ากาแฟซะอีก เพราะราคาถูกกว่านั่นเอง
–
–
ถ้าว่ากันด้วยชา Cascara แบบเพียวๆ อาจยังไม่มีการกำหนดสูตรชงที่ก่อให้เกิด Perfect Cup อย่างสมบูรณ์ ชา Cascara เปิดโอกาสให้มีการทดลองชงด้วยวิธีต่างๆ หรืออุปกรณ์ต่างๆ เช่นการใช้ French Press คู่กับ Filter สำหรับชา หรือแม้กระทั่งชงเเบบสกัดเย็น (Cold Brew) แล้วเติมน้ำผึ้ง ไซรัป เพื่อชูรสชาติแบบฟรุตตี้ขึ้นมาก็ได้
ด้วยความน่าสนใจนี้ ชา Cascara จึงกลายมาเป็นอีกหนึ่งเครื่องดื่มที่ต่อยอดมาจากกระบวนการแปรรูปกาแฟ สร้างรายได้ สร้างวิถีการบริโภค และเป็นอีกตัวเลือกของการผ่อนคลายด้วยเครื่องดื่มที่มาจากต้นกาแฟเดียวกันค่ะ #ด้วยรักและสามัคคีเนอะ 💕
** ชา Cascara ไม่ใช่ชนิดเดียวกับ Cascara Sagrada
–
–
ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก
– Sasa Sestic, World Barista Championship 2015
– Fresh Cup Magazine
–
–
ติดตามเรื่องราวของกาแฟได้ที่
—