, ,

MASTUYA METHOD : กาแฟดริปสไตล์ญี่ปุ่น

จากที่ CoffeeED ได้นำเสนอคลิปวิดีโอวิธีการดริปกาแฟแบบมัตซึย่า (Matsuya Method) ไปแล้วแบบ step by step วันนี้เรามาเก็บตกเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยของการดริปแบบมัตซึย่ากันค่ะ

สำหรับใครที่ยังไม่ได้ดูคลิป แนะนำให้ดูคลิปด้านล่างนี้ก่อนได้เลย



หลังจากดูคลิปแล้ว เรามาเก็บตกเรื่องราวของ MATSUYA METHOD  กัน!

ดริปแบบมัตซึย่า (Matsuya) ถูกพัฒนาขึ้นโดย ‘Matsuya Coffee’ ในเมืองนาโกย่า ประเทศญี่ปุ่น เป็นวิธีการชงกาแฟดริปที่ได้รสชาติดี คลีน และค่อนข้างหวานตรงตามรสนิยมของชาวญี่ปุ่น

สิ่งที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ของวิธีการนี้คือ อุปกรณ์ ‘Dripper’ ซึ่งมีรูปร่างต่างไปจาก Dripper ทั่วไป คือจะเป็นเพียงโครงเส้นเปลือยๆ คล้ายโครงลวดรูปทรงกรวย และมีให้เลือกหลายขนาดตามความต้องการของผู้ชง

‘กระดาษกรอง’(Paper Filter) ที่เหมาะสมกับวิธีการชงแบบมัตซึย่า เป็นกระดาษพิเศษที่มีความละเอียดสูง เนื้อเยื่อของกระดาษคล้ายกับผสมใยผ้า ทำให้กักเก็บน้ำร้อนเอาไว้ได้นานกว่ากระดาษกรองทั่วไป คุณสมบัติของกระดาษกรองแบบนี้ ทำให้เกิดคุณลักษณะที่ผสมผสานระหว่างการแช่และไหลผ่านของน้ำร้อน นั่นคือในเวลาที่รินน้ำร้อนลงไป น้ำร้อนจะค่อยๆ ไหลผ่านกาแฟ ‘ช้าๆละลายกาแฟออกมาอย่างสม่ำเสมอ อีกทั้ง Dripper นี้เป็นแบบเปลือยไม่มีผนังปิดทึบ ทำให้ไม่เกิดสุญญากาศใน Dripper



ภาพถ่ายจากร้านกาแฟ Ultra Adept

‘Drip Pot’ หรือภาชนะที่เราใช้ใส่กาแฟจากการชงนี้ไม่มีรูปแบบจำกัดตายตัว เพียงแต่ควรเป็นภาชนะทรงสูงที่สามารถโอบล้อม Dripper ได้อย่างพอดี ปากไม่กว้างเกินขนาดของ Dripper เพราะเราต้องการให้ความร้อน ‘ระอุ’ อยู่หลังอยู่ภายในภาชนะ หลังจากที่รินน้ำร้อนลงไปแล้วปิดฝาครอบ’ (คล้ายการอบนึ่งด้วยไอน้ำ) … ซึ่งฝาครอบนี้จำเป็นสำหรับวิธีการแบบมัตซึย่ามาก ควรเลือกใช้ขนาดที่พอดีกับ Dripper ด้วยค่ะ

นอกจากนี้ เราอาจเห็นการประยุกต์ใช้ Hario Drip Pot กับการดริปแบบมัตซึย่าได้อีกด้วย


Matsuya-4Photo Credit : Usagi Hong Kong


สรุปขั้นตอนการชง…

Dripper-0


หลังจากที่ได้กาแฟมาแล้ว เราได้นำมาลองทดสอบหาค่าความเข้มข้นของกาแฟ ( TDS ) แล้วนำไปคำนวนร่วมกับตัวแปรอื่นเพื่อหาผลลัพธ์ค่าการสกัดกาแฟแก้วนี้ดู

  • TDS  (ค่าความเข้มข้น) = 1.45 %
  • ปริมาณกาแฟที่ใช้ 50 กรัม
  • ปริมาณน้ำกาแฟ  700 กรัม


เมื่อลองคำนวนอย่างง่ายด้วยสูตร

Screen Shot 2559-11-13 at 5.14.00 PM

แปลว่าได้ค่าการสกัด (Extraction Yield) = 20.3% อยู่ในช่วงการสกัดที่พอดี (กล่าวกันว่าค่า Extration Yeild ของกาแฟควรจะอยู่ที่ 18-22 % ) ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นผลลัพทธ์ของการชงแบบมัตซึย่า ที่ใช้ปริมาณกาแฟมากกว่าปกติ บดหยาบกว่าปกติ ใช้อุณภูมิต่ำในการสกัดพร้อมกับใช้เวลาที่นานขึ้น เน้นให้กาแฟถูกสกัดด้วยความร้อนที่ระอุอยู่ภายในภาชนะ โดยไม่ได้แช่กาแฟกับน้ำร้อนโดยตรง (ถ้ากาแฟแช่น้ำร้อนนานด้วยอุณหภูมิคงที่ อาจทำให้กาแฟถูกสกัดมากเกินไป Over extraction) ฉะนั้นบริเวณผิวของผงกาแฟจะถูกสกัดออกมาหมด เมื่อชิมแล้วได้รสชาติหวาน (Sweetness) มากกว่าปกติ แต่ Flavour อาจไม่เท่าแบบ Pour-Over ที่เราเคยนำเสนอไปก่อนหน้านี้

Matsuya-Step-14

….

การชงแบบมัตซึย่าอาจยังไม่เป็นที่แพร่หลายในบ้านเรานักเมื่อเทียบกับดริปแบบอื่นๆ แต่ CoffeeEd แนะนำเลยว่าถ้าใครชอบกาแฟที่มีลักษณะเหมือนชา มีความหวาน คลีน ใสสะอาด ไม่ควรพลาดกาแฟแบบมัตซึย่านี้เลยค่ะ !

≡ ≡ ≡ ≡

Related Post : ค่าการสกัดกาแฟ Etraction Yield

≡ ≡ ≡ ≡ 

Acknowledgement

ขอบคุณ พี่หมู  (Bottomless Coffee Roasters) ที่แบ่งปันความรู้สู่ผู้ที่สนใจกาแฟทุกคนค่ะ  😀

Photo : Coffee Education
Location : ร้านกาแฟ Bottomless Espresso Bar

≡ ≡ ≡ ≡ 


ติดตามเรื่องราวของกาแฟได้ที่

Coffee Education Fanpage

web1