,

เลือก Dripper ที่ใช่ … ไว้ชงกาแฟที่ชอบ : ตอน 2

 หนึ่งในการชงกาแฟที่ได้รับความนิยมสูงในปัจจุบัน คงหนี้ไม่พ้นการชงแบบให้น้ำ “ไหลผ่าน” อย่าง Drip Coffee หรือ Pour Over ที่ไม่เน้นแรงดันน้ำเหมือนการชงกับเครื่อง Espresso

Dripper v 2

 

เหตุผลหลักๆ 2 ประการ น่าจะเป็นเพราะ
1. ราคาอุปกรณ์ถูก ทั้งอุปกรณ์ชง (Dripper, Filter, Kettle etc.)  ที่ถึงแม้จะมีหลายชิ้น แต่รวมแล้วก็ราคาถูกกว่าเครื่อง Espresso Machine ดีๆ สักเครื่องมาก  เครื่องบดก็เช่นกัน เพราะการชงแบบ Pour Over นั้น เราสามารถใช้เครื่องบดมือ หรือ Hand Grinder ได้  ราคาสำหรับคุณภาพดีแบบกลางๆ ก็ยังถูกกว่าเครื่องบดอัตโนมัติ (พวกเครื่องบดมือทำจากไทเทเนียมไม่รวมอยู่ในกลุ่มนี้นะจ๊ะ 5555)

2. เดี๋ยวนี้ เมล็ดกาแฟดีๆ พวก Specialty Coffee อร่อยๆ มีให้เลือกซื้อหาเอามาดริปเองได้ง่ายกว่าเดิม แถมหลากหลายมากขึ้น เพราะเรามีโรงคั่วดีๆ ขนาดเล็กเกิดขึ้นมากมาย

เหตุผลหลักแค่ 2 ข้อนี้ ก็ทำให้การชงกาแฟดริป หรือ Pour Over Coffee เป็นที่นิยมขึ้นมากในหลายปีที่ผ่านมา  เพราะใครๆ ก็อยากชงกาแฟสดหอมๆ ดื่มเองที่บ้านทุกวันใช่ไหมคะ

จากบทความตอนที่แล้ว CoffeeEd ได้แนะนำให้รู้จักกับ Dripper รูปทรงต่างๆ ไปแล้ว http://coffee-education.com/coffee-dripper/  ตอนที่ 2 นี้ เรามาลองดูเรื่องของ วัสดุของ Dripper กันสักนิด จะช่วยให้การตัดสินใจเลือกซื้อ Dripper ตัวต่อไปหรือตัวแรกนั้นสนุกขึ้นทีเดียว

 

ในตลาดทุกวันนี้ เราจะเห็น Dripper ที่ทำจากวัสดุต่างกันอยู่บ่อยๆ 4 ประเภท คือ พลาสติก (Plastic), เซรามิค (Ceramic), ทองแดง (Copper) และ สแตนเลส สตีล (Stainless Steel)  ซึ่งราคาก็แตกต่างกันด้วย

แล้วเราควรเลือกซื้ออะไรดีล่ะ?

CoffeeED สรุปความแตกต่างให้เข้าใจง่ายๆ ตามนี้

เวลาเราเลือก Dripper เพื่อมาทำ Pour Over Coffee นั้น  สิ่งที่เราคำนึง นอกจากรูปทรง ซึ่งสัมพันธ์อย่างมากกับ Flow การไหลของน้ำแล้ว ยังควรคำนึงถึง ‘การนำความร้อน’ (Thermal Conductivity) และ การกักความร้อน (Heat Retention) ด้วย

ซึ่งวัสดุที่ใช้ทำ Dripper 4 ชนิดที่ยกตัวอย่างมานั้น ก็มีคุณสมบัติที่ว่านี้ต่างกัน

ขอแบ่งกลุ่ม เป็น 3 ประเภทก่อน คือ กลุ่มโลหะ (Metal) ได้แก่ สแตนเลส สตีล (Stainless Steel) และ ทองแดง (Copper)

“โลหะ” จะนำความร้อนได้ดีที่สุด และคุณสมบัติของโลหะจะคายความร้อนด้วย

Kalita-Copper

ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ กรณีเราชงกาแฟดริป  สมมตินะคะสมมติ ว่าอุณหูมิน้ำที่รินลงผงกาแฟใน Dripper คือ 94 °C เมื่อผสมรวมกับผงกาแฟที่อุณหภูมิห้อง เราจะได้ ‘สมดุลความร้อน’ (Thermal Equilibrium) ของน้ำกับกาแฟที่จะมีอุณหภูมิเท่ากัน สมมติ ประมาณ 86 °C

ทีนี้ ระหว่างการชง  ‘อุณภูมิน้ำและกาแฟ’  อาจจะตกลงเนื่องจากความร้อนกระจายออกไปทางอากาศ
‘วัสดุโลหะ’ นั้น จะคายความร้อนออกมาเพื่อรักษาสมดุลความร้อนตรงพื้นที่นั้นไว้ นั่นก็คือ น้ำกับกาแฟใน dripper นั่นเอง

อ๊ะ อย่าเพิ่งงง  … เรากำลังจะบอกว่า อุณหภูมิของ Dripper และ Filter เอง ก็ต้องนำมานับรวมด้วย ในการหาจุดสมดุลความร้อน (เราไม่ได้กล่าวไว้ตั้งแต่ตอนแรก เพราะอยากให้นึกภาพโฟกัสถึงคุณสมบัติของวัสดุที่ทำ Dripper ก่อนค่ะ)

ทีนี้ พอตัวแปรทุกอย่างครบ เข้าใจหลักการทั้งหมดแล้ว เราถึงจะปรับแต่งตัวแปรแต่ละตัวได้

การที่เรา Pre-heat Dripper, Filter ก่อนรินน้ำลงไป ก็เพื่อให้สมดุลความร้อนนั้นอยู่ในอุณหภูมิที่เราต้องการใช้ชงกาแฟแต่ละตัวได้ใกล้เคียงที่สุดจริงๆ นั่นเอง

และการที่จะรักษาสมดุลความร้อนให้นานพอกับการชงกาแฟหนึ่งแก้ว (อันนี้แล้วแต่เทคนิคแล้วว่าจะ Slow Drip หรือ จะ Fast หน่อย ตามแต่บาริสต้าจะเลือก)   วัสดุของ Dripper จึงมีบทบาทหรือความสำคัญในส่วนนี้  เราก็สามารถเลือก Dripper ที่เหมาะกับการชงกาแฟแต่ละตัว แต่ละสไตล์ได้ (ต้องไม่ลืมตัวแปรอื่น ที่ CoffeeED เคยเขียนไว้ในตอนที่ 1 ด้วยนะคะ ^_^)

จากเนื้อหาด้านบน เราใช้ “โลหะ” ในการอธิบายโดยละเอียดไปแล้ว ทีนี้ เรามาสรุปคุณสมบัติอื่นๆ แบบกระชับกัน

ตามคำอธิบายข้างต้น ดูเหมือนว่า “โลหะ” น่าจะเป็น Dripper ที่เหมาะสมที่สุดในการดริปกาแฟ แต่หลายคนก็อาจติว่าเนื้อโลหะอาจจะกระทบกับ Flavour หรือรสชาติของกาแฟได้ (ก็มันคายความร้อนออกมาด้วยนี่เนอะ)Kalita-Stainless Steel

เซรามิค (Ceramic) :: เป็นวัสดุที่มีสมบัติเป็นฉนวนกันความร้อนได้ดี นั่นแปลว่าตัวมันเองไม่ได้สะสมความร้อนและจะไม่ให้ความร้อนกระจายออกไปในลักษณะการพาความร้อนออกไป  แปลว่า สมดุลความร้อนของกาแฟและน้ำร้อนที่อยู่ใน dripper จะไม่สูญเสียไปเพราะ DripperHario-Ceramic

ในขณะที่ “พลาสติก” มีคุณสมบัติถ่ายเทความร้อนแบบพาความร้อนออกไป แปลว่า Dripper ที่เป็นพลาสติกจะถ่ายเทความร้อนภายใน Dripper ให้กับอากาศ จนทำให้อุณหภูมิของจุดสมดุลความร้อนใน Dripper ลดลงเร็วกว่าเซรามิคนั่นเอง

Hario-Plastic

 

โอย เข้าใจยากเนอะ  แต่หวังว่าพอจะให้ทุกคนพอจะจับหลักการได้ และเลือกใช้ Dripper ได้สนุกขึ้นนะคะ  เพราะจริงๆ แล้ว การจะดริปกาแฟให้ได้ดีนั้น ปัจจัยเรื่อง Grind size, เทคนิคการชง การ Bloom  การรินน้ำ  Flow การไหลของน้ำ และอุณหภูมิและคุณภาพของน้ำ ก็ยังเป็นส่วนที่สำคัญกว่า

สุดท้าย แน่นอนว่า คือ กาแฟ … กาแฟดีๆ ถูกชงอย่างพิถีพิถัน ถูกหลัก ถูกเวลา จะทำให้เราได้ดื่มกาแฟที่อร่อยที่สุด จริงไหมคะ? 😆

ขอขอบคุณรูปภาพ Dripper สวยๆ จาก Hario และ Kalita ด้วยค่ะ

, ,

MASTUYA METHOD : กาแฟดริปสไตล์ญี่ปุ่น

จากที่ CoffeeED ได้นำเสนอคลิปวิดีโอวิธีการดริปกาแฟแบบมัตซึย่า (Matsuya Method) ไปแล้วแบบ step by step วันนี้เรามาเก็บตกเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยของการดริปแบบมัตซึย่ากันค่ะ

Read more

, ,

กาแฟแบบ Pour-over กับการสกัดที่สมบูรณ์ – (3)

เทรนด์การดื่มกาแฟที่ผ่านมา อุปกรณ์ชงกาแฟทรงกรวยคล้ายจะเป็น icon ของกาแฟดริป ที่เป็นกระแสตีคู่กันมากับวิถี slow life … แต่นอกจากเทคนิค ‘ดริป’ ที่เห็นบ่อยว่าเป็นการค่อยๆ รินน้ำร้อนวนก้นหอย และหยดไปบนกาแฟคั่วบดนานหลายนาทีเพื่อละลายกาแฟออกมาอย่างช้าๆ ยังมีวิธีการที่ชงที่ดูเรียบง่าย ใช้เวลาไม่นาน อย่างการชงแบบ Pour-over ที่จะใช้อุปกรณ์หน้าตาเหมือนกาแฟดริปในการชง
Read more

Siphon Coffee 101 – DIY by Kompit

Siphon Coffee 101 – [1]

 

, ,

รู้จัก – กาแฟที่สกัดสมบูรณ์ – (2)

คราวที่แล้วเราเกริ่นกันไปถึงเครื่อง Refractometer และแอพลิเคชั่น  VST Coffee Tools ที่เป็นอุปกรณ์ช่วยวัดค่า ‘การสกัดกาแฟ’ (Extraction Yeild) จากกาแฟที่ชงออกมาได้… ในวันนี้มาต่อกันที่ การสาธิตวิธีการชงกาแฟ การวัดค่าการสกั  รวมถึง การปรับเปลี่ยนตัวแปร เพื่อให้ได้กาแฟเเก้วอร่อย! บอกได้เลยว่าขั้นตอนที่พี่หมู (Bottomless Coffee Roasters) สาธิตให้ดูนี้ เป็นศาสตร์ที่ผู้ดื่มอย่างเราไม่เคยรู้มาก่อน! มันดูซับซ้อน  ละเอียดอ่อน แต่ก็เข้าใจได้ไม่ยาก มาลองติดตามกันค่ะ (:

Read more

, ,

รู้จัก – กาแฟที่สกัดสมบูรณ์ – (1)

สำหรับผู้ที่หลงรักการดื่มกาแฟแบบ Specialty Coffee หรือโปรดปรานการดื่มกาแฟคุณภาพดี แน่นอนว่าเราไม่ได้มองหาร้านกาแฟบรรยากาศดีๆ เพียงเท่านั้น  แต่กาแฟรสชาติดีต่างหากคือสิ่งที่เราแสวงหา

และนั่นก็คงเป็นเหตุผลหนึ่งที่จะทำให้ผู้รักการดื่มกาแฟรู้สึกสนุกเวลาที่ได้เรียนรู้เกร็ดความรู้ต่างๆ เกี่ยวกับกาแฟ ซึ่งจะทำให้กาแฟที่เรากำลังดื่มอยู่อร่อยขึ้นได้… อย่างที่ CoffeeED รู้สึกตื่นเต้นที่ได้รู้ว่าอะไรคือ ‘กาแฟที่สกัดได้สมบูรณ์’


EXT-0

• COFFEE  EXTRACTION 


เราอาจอธิบายถึง ‘กาแฟที่สกัดได้สมบูรณ์’  อย่างง่ายๆ ว่า เป็นกาแฟที่ผ่านการชงอย่างพิถีพิถัน ทำให้กาแฟสามารถนำเสนอคุณสมบัติและคุณลักษณะที่ดีของเมล็ดกาแฟนั้นๆ ออกมาได้อย่างดีที่สุด ซึ่งความรู้เรื่องการสกัดกาแฟที่จะมาเล่าในวันนี้ ต้องขอขอบคุณ พี่หมู Bottomless Coffee Roasters ที่เล่าให้เราฟังอย่างเป็นขั้นเป็นตอน มือใหม่ก็เข้าใจง่าย ตามมาดูกันเลย !

—-

ก่อนจะลงลึกเรื่องการสกัดกาแฟ เราขอเล่าให้ฟังนิดนึงก่อนว่า เมล็ดกาแฟตอนที่ยังเป็น Green bean (ยังไม่ผ่านการคั่ว) จะสกัดเป็นน้ำกาแฟไม่ได้ (ละลายน้ำไม่ได้) หรือหากสกัดได้ ก็ได้ไม่มากเพราะกาแฟ Green bean ยังเป็นคาร์โบไฮเดรตอยู่ เราจึงต้องแปรรูปโดยการให้พลังงาน (คั่ว) จนกลายเป็นกาแฟคั่วที่สกัดได้มากขึ้น ซึ่งตรงนี้มีข้อระวังว่า ยิ่งคั่วเข้ม ส่วนประกอบที่ไม่พึงประสงค์ในกาแฟก็จะถูกทำให้ละลายน้ำได้เหมือนกัน เพราะฉะนั้น การคั่วกาแฟ ก็ต้องคั่วให้พอดีกับการนำมาใช้งาน

——

เมื่อเข้าใจความสำคัญของการคั่วแล้ว เรามาดูกันต่อว่า ‘ทำอย่างไรถึงจะสกัดกาแฟให้ได้สมบูรณ์’ ในหัวข้อนี้ พี่หมูอธิบายด้วยการสาธิตขั้นตอนการสกัดกาแฟให้เราดู พร้อมกับเเนะนำวิธีการวัดค่าการสกัด (Extraction Yield) โดยใช้อุปกรณ์ Refractometer ควบคู่กับแอพลิเคชั่น ที่ชื่อว่า VST coffee tools



REFRACTOMETER  
»

VST_Retractometer

more information : store.vstapps


Refractometer คือ อุปกรณ์ที่ใช้วัดดูว่า ในกาแฟนั้นมีของแข็งละลายอยู่เท่าไหร่ (Dissolved solids) หรือก็คือหาค่าความเข้มข้นของกาแฟ ซึ่งเรียกกันเป็นสากลว่าค่า TDS วัดได้โดยการหยดน้ำกาแฟลงไปบนจานรับของเหลวบนอุปกรณ์ > ปิดฝา > แล้วรอสักครู่ก็จะมีตัวเลขขึ้นบนหน้าจอ ( % สูง = เข้มข้นสูง )



VST COFFEE TOOLS  »



ค่า TDS สำคัญต่อการคำนวนหาค่าการสกัด (Extraction Yeild) โดยต้องนำไปกรอกในแอพลิเคชั่น VST coffee tools พร้อมกับใส่ค่าอื่นๆ ลงไปด้วยประกอบด้วย ดังนี้

  • TDS (Total Dissolved solids) = ค่าความเข้มข้น (%)
  • Dose weight = ปริมาณกาแฟที่ใช้  (g)
  • Brew water weight = ปริมาณน้ำที่ใช้ชง (g)
  • Beverage weight = ปริมาณนำ้กาแฟที่ชงออกมาได้ (g)

เมื่อระบุค่าเหล่านี้ลงไปแล้ว โปรแกรมจะประมวลผลหาค่าการสกัด = Extraction Yeild (EXT) ออกมาให้เราเป็นเปอร์เซ็นต์



( VST coffee tools  มีให้ download ใช้ในมือถือ iPhone, Android รวมถึงใช้ในคอมพิวเตอร์  Mac OSX ,Windows ดูเพิ่มเติมที่ : http://store.vstapps.com )



EXTRACTION YIELD   »

Extraction Yield ก็คือค่าของ สารกาแฟ ที่ถูกละลายออกมาจากผงกาแฟ โดยเมื่อก่อนนี้มีทฤษฎีอยู่ว่าค่า Extration Yeild ของกาแฟควรจะอยู่ที่ 18-22 % แต่ในปัจจุบันนี้พบว่าถ้ากาแฟดีมากๆ Extration Yield เกิน 22% ก็ยังดื่มได้อร่อย ฉะนั้น ในการทดสอบแต่ละครั้งจะเชื่อแต่ตัวเลขเท่านั้นไม่พอ! ผู้ทดสอบก็ต้องชิมรสชาติประกอบไปด้วย และตัวแปรที่มีผลต่อการสกัดแต่ละครั้ง (นอกเหนือจาก ‘กาแฟ’) ก็คือ

  1. ระดับการคั่ว 
  2. อุณหภูมิน้ำ
  3. แร่ธาตุในน้ำ
  4. ขนาดของผงกาแฟบด (Grind Size) 
  5. สัดส่วนของ กาแฟ:น้ำ ที่ใช้ในการสกัด (Ratio)

เพื่อที่จะสกัดกาแฟได้อย่างสมบูรณ์ เราต้องรู้จักตัวแปรทั้งหลายเป็นอย่างดี และทำความเข้าใจว่าการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรแม้เพียงตัวเดียวก็มีผลต่อการสกัด หรือการชงกาแฟไม่มากก็น้อย

Section
วันนี้ CoffeeEd มาเกริ่นให้รู้จักกับ Refractometer  / VST coffee tools / Extraction Yeild ไว้ก่อน เพื่อเตรียมตัวสำหรับการใช้งานจริงในตอนต่อไป ซึ่งพี่หมูได้การสาธิตวิธีการสกัด การใช้อุปกรณ์ต่างๆ รวมถึงบอกเคล็ดลับการปรับเปลี่ยนตัวแปรเพื่อให้ได้มาซึ่งกาแฟแก้วอร่อยที่สกัดได้สมบูรณ์  (ทั้งการชงด้วยเครื่อง Espresso Machine และการชงแบบ Filter)  เชิญชวนติดตามกันต่อไปนะคะ  (;

Special Thanks :  พี่หมู Bottomless Coffee Roasters
Photo : Coffee Education
Location : ร้านกาแฟ Bottomless Espresso Bar


ติดตามเรื่องราวของกาแฟได้ที่

Coffee Education Fanpage

web1

, ,

รู้อะไรจาก COFFEE PROCESSING

label-processing


_
Proces
s
หรือ Processing ก็คือ การแปรรูปกาแฟ โดยเริ่มนับกระบวนการตั้งแต่การเก็บผลกาแฟ หรือที่เรียกว่า กาแฟเชอร์รี่ (Coffee Cherries) ไปจนถึงขั้นตอนการคั่วกาแฟ จนได้เป็นเมล็ดกาแฟคั่ว (Roasted Coffee) นั่นเอง Read more

,

เรียนรู้จากด้ามชง Bottomless (Naked) Portafilter

Bottomless_CoffeeEd02

_
Bottomless (
Naked) Portafilter

คือ ‘ด้ามชงกาแฟที่ไม่มีก้น’ ประกอบด้วย ด้ามชง (ไม่มีก้น) และ Basket ที่ก้นเป็นตะแกรงสำหรับใส่ผงกาแฟง ซึ่ง Bottomless ให้ครีม่าที่ดี โชว์สายของ Espresso ได้สวยงาม ถ้าถ่ายรูปไว้ก็ได้ภาพที่สวยที่สุดภาพหนึ่ง! แต่ประโยชน์ของ Bottomless อยู่ที่ภาพถ่ายสวยๆ อย่างเดียวซะเมื่อไหร่… การดูช็อตจาก  Bottomless ต่างหาก ถือเป็นเเบบฝึกหัดฝึกฝีมือสกัดช็อตได้เป็นอย่างดี!

Read more

11 ข้อแตกต่างของกาแฟพันธุ์อราบิก้า – โรบัสต้า

กาแฟที่เราดื่มทุกวันนี้ มีตั้งแต่กาแฟราคาแก้วละร้อย  ซุ้มกาแฟสดที่ราคาถูกกันกว่าครึ่ง ไปจนถึงกาแฟกระป๋องในร้านสะดวกซื้อ เมนูก็มีให้เลือกหลากหลาย และรสชาติแต่ละร้านก็แตกต่างกัน… แล้วอะไรคือสิ่งที่ทำให้กาแฟเหล่านั้นแตกต่าง?…